chatchay
วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554
10 วิธีในการทำให้ Affiliate Marketing มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คนที่ทำ Affiliate Marketing ส่วนใหญ่นั้นก็จะรู้กันดีว่า ธุรกิจ Affiliate นั้นเป็นช่องทางนึงที่สามารถก่อให้เกิดรายได้หรือว่ากำไรได้มากขึ้น โดยที่ใช้ต้นทุนน้อยกว่าการทำการตลาดในรูปแบบอื่นๆ
โดยที่ทั้งฝ่ายเจ้าของร้าน (Advertisers) กับคนที่เป็น Publishers (หรือเรียกว่า Affiliate Marketers) ต่างก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Affiliate Marketing ได้ทั้งคู่ พูดง่ายๆ ก็คือ Win-Win นั่นเอง คือคนขายก็ขายได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่คนโปรโมทให้ก็ได้รับค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าเหนื่อย
ซึ่งการทำการตลาดโดยใช้วิธีของ Affiliate ก็เหมือนกับการทำการตลาดในแบบอื่นๆ ที่เราจะต้องมีการหากลยุทธ์ต่างๆ ใหม่ๆ นำมาใช้ในการดึงดูดลูกค้ากันอยู่เรื่อยๆ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็จะช่วยให้เราสามารถที่จะประสพความสำเร็จกันได้ไม่ยาก
ส่วนนี่คือ 10 เทคนิคที่เราสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการทำ Affiliate Marketing ของเราได้ครับ โดยที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในมุมของเจ้าของร้าน และคนที่เป็น Affiliate Marketers ที่ทำการโปรโมทร้านค้าให้ด้วย
โดยที่ทั้งฝ่ายเจ้าของร้าน (Advertisers) กับคนที่เป็น Publishers (หรือเรียกว่า Affiliate Marketers) ต่างก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Affiliate Marketing ได้ทั้งคู่ พูดง่ายๆ ก็คือ Win-Win นั่นเอง คือคนขายก็ขายได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่คนโปรโมทให้ก็ได้รับค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าเหนื่อย
ซึ่งการทำการตลาดโดยใช้วิธีของ Affiliate ก็เหมือนกับการทำการตลาดในแบบอื่นๆ ที่เราจะต้องมีการหากลยุทธ์ต่างๆ ใหม่ๆ นำมาใช้ในการดึงดูดลูกค้ากันอยู่เรื่อยๆ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็จะช่วยให้เราสามารถที่จะประสพความสำเร็จกันได้ไม่ยาก
ส่วนนี่คือ 10 เทคนิคที่เราสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการทำ Affiliate Marketing ของเราได้ครับ โดยที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในมุมของเจ้าของร้าน และคนที่เป็น Affiliate Marketers ที่ทำการโปรโมทร้านค้าให้ด้วย
- Effective Creative
มีการใช้สื่อต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อในที่นี้ก็เช่นพวก Banners ก็ควรจะดูดีมีความเป็นมืออาชีพ เพื่อที่เราสามารถที่จะนำมาใช้ในการโปรโมทสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้ก็รวมไปถึงการที่เราควรจะมีคำพูดที่เป็น Call to Action ที่ชัดเจน หรือไม่ก็อาจจะเป็นข้อเสนอดีๆ ที่ชักชวนให้กลุ่มลูกค้าสนใจได้มากขึ้น - Competitive Offers
ข้อเสนอที่โดนใจ ซึ่งเราอาจจะศึกษาดูคู่แข่งของเราก่อนก็ได้ ว่าตอนนี้พวกเค้ามีข้อเสนออะไรบ้าง แล้วเราสามารถที่จะมีข้อเสนอที่ดีกว่าพวกเค้าหรือเปล่า ซึ่งอาจจะเป็นพวกส่งสินค้าให้ฟรี เป็นต้น - Deep Linking
การส่งคนให้เข้าไปที่หน้าของสินค้านั้น จะมีอัตรา Conversion ที่สูงกว่าการที่เราส่งคนไปที่หน้าแรก เหตุผลก็คือว่าพวกเค้าจะได้ไม่ต้องคลิ๊กต่อไป เพื่อหาสิ่งที่เค้าต้องการนั่นเอง ให้จำไว้เสมอว่า พยายามทำให้พวกเค้าเหล่านั้นคลิ๊กให้น้อยที่สุด แล้วก็พยายามจบการขายได้ในแบบรวดเร็วที่สุด - Optimized Landing Pages
ปรับปรุงหน้า Landing Page ให้ดูดี แล้วก็มีความน่าเชื่อถือ โดยที่พยายามทำให้ข้อความโฆษณานั้นเกี่ยวข้องกับหน้า Landing Page ของเราด้วย - Pay-Per-Click (PPC)/Search Engine Optimization (SEO)
ใช้ PPC แล้วก็ SEO ในการดึงคนเข้าสู่เว็บไซต์ของเรา แล้วก็อย่าลืมที่จะวัดผลถึงคนที่เข้ามาสู่เว็บของเรา โดยผ่านช่องทางเหล่านี้ด้วย (Web Analytics) - Simple Checkout Process
มีวิธีหรือว่าขั้นตอนในการสั่งซื้อที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ซึ่งรวมไปถึงการมีระบบ Shopping Cart ที่ใช้งานง่ายๆ ด้วย - Incentives
มีของที่เป็นแรงจูงใจ เช่นว่าถ้าเราส่ง Traffic ไปให้ หรือว่าขายของเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ก็จะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มเติม เป็นต้น - Communication
มีการติดต่อกันเพื่อที่จะได้มีความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างเจ้าของร้านกับคนที่ทำ Affiliate ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ หรือว่า Instant Messaging เช่น MSN เป็นต้น หรือถ้าเป็นไปได้ ก็ยกหูโทรศัพท์คุยกันก็จะเป็นการดีที่สุด - Professionalism
มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าเราจะทำอาชีพอะไร เราก็ควรที่จะมีความรู้ในสิ่งที่เรากำลังจะทำให้มากที่สุด - Quality Online Presence
ในเรื่องของเว็บไซต์ เราก็ต้องทำให้ดูดี มีคุณภาพ โหลดหน้าเว็บได้อย่างรวดเร็ว แล้วก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ เช่นนพวกเมนูต่างๆ เป็นต้น พยายามทำให้คนที่เข้ามาในเว็บนั้น รู้สึกว่าเว็บของเรานั้น น่าเชื่อถือ แล้วก็ปลอดภัย ถ้าหากว่าตัดสินใจที่จะสั่งซื้อของจากร้านค้า Online ของเรา
วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วิธีการป้องกันการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวบนเน็ต ไปใช้
ไม่ใช่เรื่องใหม่เลยที่การหลอกขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ของพวกมิจฉาชีพ แต่ก็ยังมีผู้ตกเป็นเหยื่อของอาชญกร อินเตอร์เน็ตพวกนี้อยู่เรื่อง ๆ ล่าสุดกรณีของ “เชอรรี่ หนูผี” ที่ถูกขโยข้อมูล อีเมล์ ไปใช้โดยการหลอก ให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางอีเมล์ ก็เป็นอีกกรณ๊ หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งาน อินเตอร์เน็ตทุกวันนี้ต้องมีความระมัดระวังตัวกันมากขึ้น และบทความด้านล่างนี้ ทางกอง บก.ของ ARIP.CO.TH ได้เขียนขึ้นเพื่อให้เป็นแนวทางให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันตนเองจากการถูกขโมยข้อมูล เห็นว่ามีประโยชน์ดีเลยหยิบมาให้ได้อ่านและศึกษากัน เพื่อป้องกันตัวเองครับ.
1. การอนุญาตให้แชร์ข้อมูลส่วนตัว แนะนำให้ลงทะเบียนในเว็บไซต์เฉพาะช่องที่ทางเว็บไซต์ต้องการข้อมูลจริงๆ ส่วนช่องอื่นๆ พิจารณาดูตามความเหมาะสม จากนั้นกวาดสายตาหาเช็คบ๊อกซ์ที่ระบุว่า มีการแชร์ข้อมูลส่วนตัวของคุณ ทางดีควรปฏิเสธการแชร์ข้อมูลจะดีกว่า ด้วยการเลือก หรือไม่เลือกเช็คบ๊อกซ์นั้น (อ่านเงื่อนไขก่อนนะครับว่า การเลือก หรือไม่เลือกนั้นหมายความว่าอย่างไร?)
2. ธุรกรรมออนไลน์ต้องมีกุญแจล็อค ทุกครั้งทีทำธุรกรรมออนไลน์ ให้สังเกตสัญลักษณ์ที่เป็นรูปแม่กุญแจล็อค (Lock) ทีบริเวณแถบสถานะ (Status bar) ที่อยู่ด้านล่างของบราวเซอร์ และ https:// ที่ปรากฎเป็นคำแรกในช่องแอดเดรสบาร์ (Address Bar) ซึ่งการปรากฎของข้อมูลทั้งสองอย่างนี้จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่า ข้อมูลของคุณได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัย
3. ระวังฟิชชิ่ง (Phising Scam) หากได้รับอีเมล์แจ้งปัญหาเกียวกับบัญชี (username, password หรือหมายเลขบัญขีธนาคาร) การใช้บริการของธนาคารออนไลน์ หรือสถาบันการเงินออนไลน์ต่างๆ อย่าคลิกลิงค์ที่ปรากฎในอีเมล์ หรือให้ข้อมูลกลับไป (เช่นกรณีทีเกิดกับคุณ “เชอรี่ ผุงประเสิร์ฐ” ซึ่งหากอีเมล์นั้นใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยอาจจะยิ่งอันตราย เพราะผู้ไม่หวังดีอาจใช้อีเมล์นี้ในการร้องขอพาสเวิร์ดอัตโนมัติ หรืออ้างว่าลืมจากทางธนาคารได้) ควรจะคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ธนาคาร เพื่อตรวจสอบว่า แอคเคาต์ของคุณมีปัญหาจริง หรือไม่? ซึงหากพบว่า ปกติดี ให้คุณรีบแจ้งทางธนาคารให้ทราบว่า มีการโกงในลักษณะนี้ เพื่อจะได้ไม่เกิดความเสียหายกับผู้อื่นด้วย อ้อ…อย่าตกม้าตายด้วยการลืม Log out (Sign out) ทุกครั้งที่ใช้อีเมล์ หรือบริการเหล่านี้ด้วยนะครับ
4. ใช้บราวเซอร์ทีมีระบบการป้องกันฟิชชิ่ง บราวเซอร์ IE, Firefox จะมีระบบตรวจจับเว็บไซต์ปลอม โดยจะแสดงผลเน้นชื่อโดเมนของเว็บไซต์ให้เห็นเด่นชัด ดังนั้นทุกครั้งก่อนกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มออนไลน์ใดๆ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรือสถาบันการเงินต่างๆ ควรสังเกตชื่อโดเมนในช่อง Address Bar ทุกครั้ง
5. เสิร์ชอย่างปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยในการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส หรือโปรแกรมเสริมการทำงานที่มีระบบตรวจสอบความปลอดภยของลิงค์ต่างๆ ในหน้าผลลัพธ์การค้นของเสิร์ชเอ็นจิ้นด้วย โดยหากโปรแกรมเหล่านี้พบว่า ลิงค์ที่ค้นไม่ได้ไม่ปลอดภัยก็จะแสดงไอคอนเตือนให้ทราบทันที ซึ่งหากไม่มี คุณผู้อ่านก็อาจจะคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์อันตรายที่หลอกขอข้อมูลไปจนถึงแฮคเข้าไปในระบบผ่านช่องโหว่ของบราวเซอร์
6. ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ของคุณควรได้รับการตั้งพาสเวิร์ดทีแข็งแรง เพื่อป้องกันการแอบใช้ หรือเจาะเข้าไปนำข้อมูลของคุณออกมาโดยง่าย ตลอดจนอัพเดตโปรแกรมระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ การดูแลระบบให้แข็งแรงจะช่วยป้องกันการบุกรุกเข้าไปควบคุม หรือขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของคุณขณะออนไลน์ได้เป็นอย่างดี หากเป็นไปได้ ไม่ควรให้ยืมคอมพิวเตอร์กับคนแปลกหน้า และหากส่งซ่อมควรถอดฮาร์ดดิสก์ออกก่อน (หากฮาร์ดดิสก์ไม่เสีย) หรือสำรองข้อมูลสำคัญออกมา แล้วลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ออกไป
7. คิดก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะเรื่องทีเกียวข้องกับข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นกฎเหล็กข้อหนึงในการป้องกันการขโมย และแอบอ้างข้อมูลส่วนตัวบนออนไลน์ไปใช้ก็คือ อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เข้ามาในอีเมล์ ลบข้อมูลสำคัญๆ ออกไปจากเครื่องก่อนซ่อม หรือขายออกไป เพราะขโมยไม่ได้มีแค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น
ความจริงยังมีวิธีป้องกันตัวเองอีกมากมาย แต่เชื่อว่า 7 ข้อที่นำเสนอในข่าวนี้ น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านหลายๆ ท่านพอสมควร สำหรับคุณผู้อ่านท่านใด ทีมีวิธีการป้องกันดีๆ และอยากแชร์ให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ ก็คอมเมนต์กันเข้ามาได้เลยนะครับ สังคมออนไลน์จะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยความปรารถนาดีที่มีต่อผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ
1. การอนุญาตให้แชร์ข้อมูลส่วนตัว แนะนำให้ลงทะเบียนในเว็บไซต์เฉพาะช่องที่ทางเว็บไซต์ต้องการข้อมูลจริงๆ ส่วนช่องอื่นๆ พิจารณาดูตามความเหมาะสม จากนั้นกวาดสายตาหาเช็คบ๊อกซ์ที่ระบุว่า มีการแชร์ข้อมูลส่วนตัวของคุณ ทางดีควรปฏิเสธการแชร์ข้อมูลจะดีกว่า ด้วยการเลือก หรือไม่เลือกเช็คบ๊อกซ์นั้น (อ่านเงื่อนไขก่อนนะครับว่า การเลือก หรือไม่เลือกนั้นหมายความว่าอย่างไร?)
2. ธุรกรรมออนไลน์ต้องมีกุญแจล็อค ทุกครั้งทีทำธุรกรรมออนไลน์ ให้สังเกตสัญลักษณ์ที่เป็นรูปแม่กุญแจล็อค (Lock) ทีบริเวณแถบสถานะ (Status bar) ที่อยู่ด้านล่างของบราวเซอร์ และ https:// ที่ปรากฎเป็นคำแรกในช่องแอดเดรสบาร์ (Address Bar) ซึ่งการปรากฎของข้อมูลทั้งสองอย่างนี้จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่า ข้อมูลของคุณได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัย
3. ระวังฟิชชิ่ง (Phising Scam) หากได้รับอีเมล์แจ้งปัญหาเกียวกับบัญชี (username, password หรือหมายเลขบัญขีธนาคาร) การใช้บริการของธนาคารออนไลน์ หรือสถาบันการเงินออนไลน์ต่างๆ อย่าคลิกลิงค์ที่ปรากฎในอีเมล์ หรือให้ข้อมูลกลับไป (เช่นกรณีทีเกิดกับคุณ “เชอรี่ ผุงประเสิร์ฐ” ซึ่งหากอีเมล์นั้นใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยอาจจะยิ่งอันตราย เพราะผู้ไม่หวังดีอาจใช้อีเมล์นี้ในการร้องขอพาสเวิร์ดอัตโนมัติ หรืออ้างว่าลืมจากทางธนาคารได้) ควรจะคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ธนาคาร เพื่อตรวจสอบว่า แอคเคาต์ของคุณมีปัญหาจริง หรือไม่? ซึงหากพบว่า ปกติดี ให้คุณรีบแจ้งทางธนาคารให้ทราบว่า มีการโกงในลักษณะนี้ เพื่อจะได้ไม่เกิดความเสียหายกับผู้อื่นด้วย อ้อ…อย่าตกม้าตายด้วยการลืม Log out (Sign out) ทุกครั้งที่ใช้อีเมล์ หรือบริการเหล่านี้ด้วยนะครับ
4. ใช้บราวเซอร์ทีมีระบบการป้องกันฟิชชิ่ง บราวเซอร์ IE, Firefox จะมีระบบตรวจจับเว็บไซต์ปลอม โดยจะแสดงผลเน้นชื่อโดเมนของเว็บไซต์ให้เห็นเด่นชัด ดังนั้นทุกครั้งก่อนกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มออนไลน์ใดๆ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรือสถาบันการเงินต่างๆ ควรสังเกตชื่อโดเมนในช่อง Address Bar ทุกครั้ง
5. เสิร์ชอย่างปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยในการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส หรือโปรแกรมเสริมการทำงานที่มีระบบตรวจสอบความปลอดภยของลิงค์ต่างๆ ในหน้าผลลัพธ์การค้นของเสิร์ชเอ็นจิ้นด้วย โดยหากโปรแกรมเหล่านี้พบว่า ลิงค์ที่ค้นไม่ได้ไม่ปลอดภัยก็จะแสดงไอคอนเตือนให้ทราบทันที ซึ่งหากไม่มี คุณผู้อ่านก็อาจจะคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์อันตรายที่หลอกขอข้อมูลไปจนถึงแฮคเข้าไปในระบบผ่านช่องโหว่ของบราวเซอร์
6. ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ของคุณควรได้รับการตั้งพาสเวิร์ดทีแข็งแรง เพื่อป้องกันการแอบใช้ หรือเจาะเข้าไปนำข้อมูลของคุณออกมาโดยง่าย ตลอดจนอัพเดตโปรแกรมระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ การดูแลระบบให้แข็งแรงจะช่วยป้องกันการบุกรุกเข้าไปควบคุม หรือขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของคุณขณะออนไลน์ได้เป็นอย่างดี หากเป็นไปได้ ไม่ควรให้ยืมคอมพิวเตอร์กับคนแปลกหน้า และหากส่งซ่อมควรถอดฮาร์ดดิสก์ออกก่อน (หากฮาร์ดดิสก์ไม่เสีย) หรือสำรองข้อมูลสำคัญออกมา แล้วลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ออกไป
7. คิดก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะเรื่องทีเกียวข้องกับข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นกฎเหล็กข้อหนึงในการป้องกันการขโมย และแอบอ้างข้อมูลส่วนตัวบนออนไลน์ไปใช้ก็คือ อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เข้ามาในอีเมล์ ลบข้อมูลสำคัญๆ ออกไปจากเครื่องก่อนซ่อม หรือขายออกไป เพราะขโมยไม่ได้มีแค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น
ความจริงยังมีวิธีป้องกันตัวเองอีกมากมาย แต่เชื่อว่า 7 ข้อที่นำเสนอในข่าวนี้ น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านหลายๆ ท่านพอสมควร สำหรับคุณผู้อ่านท่านใด ทีมีวิธีการป้องกันดีๆ และอยากแชร์ให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ ก็คอมเมนต์กันเข้ามาได้เลยนะครับ สังคมออนไลน์จะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยความปรารถนาดีที่มีต่อผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)